วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปกวิจัย




งานวิจัย
ความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

โดย
นายชนกันต์     ราชคม             เลขที่   7
นางสาวภาวิณี แสนจิตติ์         เลขที่   29
นางสาววีนัส   พิสิษฐ์กุล         เลขที่   36
        นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา ว32286
ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

คำนำ


คำนำ

การจัดทำงานวิจัย ความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนในรายวิชา วิจัย(Independent Study) (ว32285) เพื่อเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติประสบการณ์จริงผึกกระบวนการการทำงานเป็นหมู่คณะ และสามารนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
คณะผู้จัดทำงานวิจัย ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับครูที่ปรึกษางานวิจัย ที่คอยให้คำปรึกษาในการจัดทำเอกสารรูปเล่ม และให้คำชี้แนะ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานงานวิจัยในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารงานวิจัยเล่มนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน

คณะผู้จัดทำ 

บทคัดย่อ


บทคัดย่อ

งานวิจัย ความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ประกอบด้วย 1) สรุปผลการดำเนินงานการวิจัย 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา 3)ผลวิเคราะห์สถานภาพทางครอบครัว
สรุปผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
งานวิจัยศึกษาความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้จัดทำงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม 2.เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับความพึงพอใจต่อการบริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม 3. เพื่อนำปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจักการให้บริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
ซึ่งในการศึกษาหาผู้วิจัย ศึกษาจากนักเรียนมัถยมศึกษาตอนต้น ชาย 7 คน หญิง 8 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ชาย 8 คน หญิง 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D สามารถสรุปได้ดังนี้
1.            คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาผู้ตอบแบบสอบถาม 30 คน เป็นผู้หญิง 15  คน เป็นชาย 15 คน อายุ วุฒิการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามจบการศึกษาสูงสุดมัธยมศึกษาปีที่ 3 15 คน ประถมศึกษาปีที่ 6  15 คน ตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 15 คน รองลงมาเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 15 คน
2.            ความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
        กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจภาพรวม อยู่ในระดับเป็น เฉยๆ  มีค่าเฉลี่ย ( X =2.81 ) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ห้องน้ำที่นักเรียนใช้บ่อยที่สุดคือห้องน้ำหอประชุมซึ่งมีค่าเฉลี่ย (  X  = 3.81) และรองลงมาคือ ห้องน้ำอาคาร1 มีค่าเฉลี่ย ( X = 3.26 ) รองลงมาอีกคือ ห้องน้ำโรงอาหารและห้องน้ำอาคาร5มีค่าเฉลี่ย (X = 2.25 )และ (X = 1.82) น้อยที่สุดคือห้องน้ำศูนย์กีฬา  มีค่าเฉลี่ย (X = 0.76 ) 
              ด้านความสะอาดมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง(เฉยๆ) มีค่าเฉลี่ย ( X = 3.36 ) ด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.12 ) และ ด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับ เฉยๆ  มีค่าเฉลี่ย ( X = 2.82 )

กิตติกรรมประกาศ


กิตติกรรมประกาศ
                งานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา ว32286 ตามหลักสูตรโรงเรียมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  สำเร็จได้ด้วยดี จากความกรุณาให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือจากคุณครูยิ่งศักดิ์  กระจ่างแจ้ง คุณครูประจำวิชาวิจัยอิสระ(Independent Study: IS) ที่กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คณะผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
                ขอขอบคุณนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล และให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ตามความเป็นจริง ซึ่งทำให้การวิจัยครั้งนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
                สุดท้ายนี้คณะผู้วิจัยขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องท่านอื่นๆ และขออภัยที่ไม่ได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ ที่ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนจนวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยดี

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประวัติผู้จัดทำ





ชื่อ: นายชนกันต์ ราชคม เลขที่ 7
ชื่อเล่น: ชนม์
E-mail : chon_zawa@hotmail.com
สิ่งที่ชอบ : เวลาว่าง
สิงที่ไม่ชอบ : ที่ๆต่างๆที่คนเยอะ
งานอดิเรก: ทริปต่างจังหวัด ดนตรี 
ความคิดเห็นเกียวกับวิชา ว32285 : หน้าจะมีประโยชน์ในมหาวิทยาลัย :)





ชื่อ : น.ส. ภาวิณี แสนจิตต์ เลขที่ 29
ชื่อเล่น :แก้ม อายุ : 17 ปี
อีเมล์ : kam_t2ppk@hotmail.com
สิ่งที่ชอบ : สีดำ&เขียว รูบิค กีตาร์ คอม ทีวี โทรศัพท์ นอน
งานอดิเรก : นอนหลับ เล่นเกม เล่นเฟส ฟังเพลง ดูหนัง เล่นกีต้าร์ เล่นรูบิค ขี่มอไซค์&จักรยานเล่น ฯลฯ
ความคิดเห็นเกียวกับวิชา ว32285 : ทำให้รู้ว่าการทำวิจัยต้องละเอียดมาก




ชื่อ       : น.ส. วีนัส พิสิษฐ์กุล เลขที่ 36
ชื่อเล่น :วีนัส อายุ : 17 ปี
อีเมล์   : bio.venus@hotmail.com
ความคิดเห็นเกียวกับวิชา ว32285: จะเป็นตัวที่จะทำให้เข้าใจมากสามารถใช้ในเรียนต่อในมหาวิทยาลัยและจะได้รู้หลักถูกต้องของรูปแบบในการทำงาน

powerpoint(นำเสนอ)



ภาพกิจกรรม





























บทที่ 1


บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา

ความพึงพอใจเป็นปัจจัยที่สําคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้ประสบความสําเร็จโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นงานที่เกี่ยวกับการให้บริการ ผู้ให้บริการควรจะต้องให้ความสําคัญในเรื่องความพึงพอใจ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันไหนๆก็ตาม เพื่อที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มาใช้บริการ ตัวที่สามารถบ่งชี้เกี่ยวกับการให้บริการได้ดีคือ จำนวนผู้มาใช้บริการ ดังนั้น ผู้ให้บริการที่ชาญฉลาดจึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาให้ลึกซึ้งถึงปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆ ที่จะเกิดความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติงาน และผู้มาใช้บริการ ดังนั้น โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาและมีการบริการด้านต่างๆ กลุ่มงานวิจัยจึงยกความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาใช้บริการห้องน้ำ ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด
ความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำ บริเวณห้องน้ำที่เราทำการวิจัยคือ ห้องน้ำหลังอาคาร 1 , ห้องน้ำอาคาร 4 , ห้องน้ำโรงอาหาร , ห้องน้ำศูนย์กีฬา , ห้องน้ำหอประชุม ซึ่งห้องน้ำไหนได้รับการบริการมากที่สุดถือได้ว่าห้องน้ำนั้นสะอาดและผู้ใช้บริการพึงพอใจมากที่สุด  ศึกษาจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ชาย 7 คน หญิง 8 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ชาย 8 คน หญิง 7 คน ทางกลุ่มงานวิจัยเห็นความสำคัญของความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการจึงมีการสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ  เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ ที่มีต่อความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ซึ่งจะนำผลที่ได้จากการศึกษามาใช้ในการวางแผนการจัดให้บริการต่างๆ ของห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ให้สอดคล้องกบความต้องการของผู้ใช้บริการต่อไป





วัตถุประสงค์ของการวิจัย

     1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
     2. เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับความพึงพอใจต่อการบริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
     3. เพื่อนำปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจักการให้บริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมมีความพึงพอใจในการบริการห้องน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าห้องน้ำที่ได้รับการบริการมากที่สุด ดั้งนั้นห้องน้ำนั้นมีความสะอาดมากที่สุด
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสํารวจเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการห้องน้ำของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ในช่วงเวลาประมาณเดือนสิงหาคม2555 - กุมภาพันธ์2556
นิยามศัพท์เฉพาะ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า พึงพอใจหมายถึง รัก ชอบใจ และพึงใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     1. ทำให้ทราบถึงระดับความพึงพอใจต่อการบริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม เพื่อเป็ นแนวทางในการปรับปรุงให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากขึ้น
     2. เพื่อนําข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การบริหารจัดการของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม โดยใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพ และนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมาย

บทที่ 2


บทที่  2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมแนวความคิด ทฤษฏี และผลงานการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาดังนี้
1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกบความพึงพอใจ
2. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. กรอบแนวคิดและสมมติฐานในการศึกษา
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

ความพึงพอใจ (Satisfaction) ได้มีผู้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้หลายความหมาย ดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า พึงพอใจ หมายถึง รัก ชอบใจ และพึงใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ

      ดิเรก  (2528) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความรู้สึกหรือทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำของบุคคลที่มีต่องานในทางบวก ความสุขของบุคคลอันเกิดจากการปฏิบัติงานและได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น มีความสุข ความมุ่งมั่นที่จะทำงาน มีขวัญและมีกำลังใจ มีความผูกพันกับหน่วยงาน มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จของงานที่ทำ และสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานส่งผลต่อถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จขององค์การอีกด้วย

      วิรุฬ (2542) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะมีความคาดหมายกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างไร ถ้าคาดหวังหรือมีความตั้งใจมากและได้รับการตอบสนองด้วยดีจะมีความพึงพอใจมากแต่ในทางตรงกันข้ามอาจผิดหวังหรือไม่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามที่คาดหวังไว้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตั้งใจไว้ว่าจะมีมากหรือน้อยสอดคล้องกับ

      ฉัตรชัย  (2535) กล่าวว่า ความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งหรือปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรือบรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง

      กิตติมา (2529) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบหรือพอใจที่มีต่อองค์ประกอบและสิ่งจูงใจในด้านต่างๆเมื่อได้รับการตอบสนอง

       กาญจนา (2546) กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่เราจะทราบว่าบุคคลมีความพึงพอใจหรือไม่ สามารถสังเกตโดยการแสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและต้องมีสิ่งเร้าที่ตรงต่อความต้องการของบุคคล จึงจะทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคลนั้นให้เกิดความพึงพอใจในงานนั้น

      นภารัตน์  (2544) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกทางบวกความรู้สึกทางลบและความสุขที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน โดยความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ

      เทพพนม และสวิง (2540) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นภาวะของความพึงใจหรือภาวะที่มีอารมณ์ในทางบวกที่เกิดขึ้น เนื่องจากการประเมินประสบการณ์ของคนๆหนึ่ง สิ่งที่ขาดหายไประหว่างการเสนอให้กับสิ่งที่ได้รับจะเป็นรากฐานของการพอใจและไม่พอใจได้

      สง่า (2540) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสำเร็จตามความมุ่งหมายหรือเป็นความรู้สึกขั้นสุดท้ายที่ได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

จากการตรวจเอกสารข้างต้นสรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือทัศนคติที่ดีของบุคคล ซึ่งมักเกิดจากการได้รับการตอบสนองตามที่ตนต้องการ ก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งนั้น ตรงกันข้ามหากความต้องการของตนไม่ได้รับการตอบสนองความไม่พึงพอใจก็จะเกิดขึ้น

แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ

      Shelly  อ้างโดย ประกายดาว  (2536) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ ว่าความพึงพอใจเป็นความรู้สึกสองแบบของมนุษย์ คือ ความรู้สึกทางบวกและความรู้สึกทางลบ ความรู้สึกทางบวกเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความสุข ความสุขนี้เป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากความรู้สึกทางบวกอื่นๆ กล่าวคือ เป็นความรู้สึกที่มีระบบย้อนกลับความสุขสามารถทำให้เกิดความรู้สึกทางบวกเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสุขเป็นความรู้สึกที่สลับซับซ้อนและความสุขนี้จะมีผลต่อบุคคลมากกว่าความรู้สึกในทางบวกอื่นๆ ขณะที่วิชัย  (2531) กล่าวว่า แนวคิดความพึงพอใจ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์ กล่าวคือ ความพึงพอใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อความต้องการของมนุษย์ได้รับการตอบสนอง ซึ่งมนุษย์ไม่ว่าอยู่ในที่ใดย่อมมีความต้องการขั้นพื้นฐานไม่ต่างกัน

      พิทักษ์  (2538) กล่าวว่า   ความพึงพอใจเป็นปฏิกิริยาด้านความรู้สึกต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่แสดงผลออกมาในลักษณะของผลลัพธ์สุดท้ายของกระบวนการประเมิน โดยบ่งบอกทิศทางของผลการประเมินว่าเป็นไปในลักษณะทิศทางบวกหรือทิศทางลบหรือไม่มีปฏิกิริยาคือเฉยๆ ต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มากระตุ้น

       สุเทพ  (2541) ได้สรุปว่า สิ่งจูงใจที่ใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ มีด้วยกัน 4 ประการ คือ

1.             สิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ (material inducement) ได้แก่ เงิน สิ่งของ หรือสภาวะทางกายที่ให้แก่ผู้
ประกอบกิจกรรมต่างๆ
2.             สภาพทางกายที่พึงปรารถนา (desirable physical condition ) คือ สิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งอันก่อให้เกิดความสุขทางกาย
3.             ผลประโยชน์ทางอุดมคติ (ideal benefaction) หมายถึง สิ่งต่างๆที่สนองความต้องการของบุคคล
4.             ผลประโยชน์ทางสังคม (association attractiveness) หมายถึง ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับผู้ร่วมกิจกรรม อันจะทำให้เกิดความผูกพัน ความพึงพอใจและสภาพการร่วมกัน อันเป็นความพึงพอใจของบุคคลในด้านสังคมหรือความมั่นคงในสังคม ซึ่งจะทำให้รู้สึกมีหลักประกันและมีความมั่นคงในการประกอบกิจกรรม



ผลงานที่เกี่ยวข้อง

                ยุภาพร ทองน้อย และบงกช สิทธิสมจินต์ (2548) ได้ศึกษาเรื่อง การสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจําปีการศึกษา 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการจัดให้บริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อทราบปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการที่มีต่อการจัด ให้บริการของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อนําปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดให้บริการของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการดําเนินงานของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สําหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สภาพบรรยากาศของกองสมุด รองลงมา คือ บริการยืมคืน และข้อเสนอแนะที่ผู้ใช้บริการต้องการให้ห้องสมุดปรับปรุงมากที่สุด 3 ลําดับแรก  คือ 1. ปรับปรุงระเบียบการให้บริการ 2. ขยายเวลาเปิดให้บริการ และ 3. ทรัพยากรสารสนเทศไมทันสมัยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ ตามลําดับ

วิภา บุญแดง และคณะ (2551) ได้ศึกษาเรื่อง รายงานการสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุด สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี การศึกษา 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ห้ องสมุดและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อห้องสมุดสาขาของสํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการที่มีต่อห้องสมุดสาขาของสํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยรวมอยูในระดับมาก
จากแนวคิดและทฤษฎีดังกล่าว ทําให้เกิดแนวคิดในการสร้างแบบสอบถามเพื่อทราบระดับความพึงพอใจต่อการบริการใช้บริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม โดยมีกรอบแนวคิด ดังนี้


กรอบแนวคิด




ภาพแสดงความพึงพอใจในการใช้บริการห้องน้ำของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

บทที่ 3


บทที่  3
วิธีการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
                      แนวทางในการศึกษา และการรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม จะอธิบายถึงการกำหนดจำนวนนักเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การวิเคราะห์ ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้
                                        1.  วิธีการศึกษา
                                        2.  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                                        3.  การวิเคราะห์ข้อมูล
                        4.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการศึกษา
                      การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสํารวจ เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคมโดยศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ซึ่งมีรายละเอียดการศึกษาดังต่อไปนี้
                      จำนวนนักเรียนตัวอย่างศึกษาจากนักเรียนมัถยมศึกษาตอนต้น ชาย 7 คน หญิง 8 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ชาย 8 คน หญิง 7 คน ของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                      การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ดังนั้น จึงใช้แบบสอบถามตามแบบ ลิเคอร์ทสเกล(Likert Scale) ซึ่งแบบสอบถามแบงเป็น  2 ส่วนดังนี้
                      ส่วนที่1 แบบสอบถามในเรื่องเกี่ยวกบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยคําถามเกี่ยวกับ
1. เพศ
2. อาย
                                        ส่วนที่ 2  แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคมรวมทั้งสิ้น 9 ข้อ โดยใช้มาตรวัดแบบ  Likert’s Scale แบ่งข้อทดสอบย่อยออกเป็น  4 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่1 ความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ได้แก่ ข้อ 1.1-1.2
ประเด็นที่2 ความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมจำนวน 100 คน ได้แก่ ข้อ 2.1-2.3
ประเด็นที่3 ความพึงพอใจด้านการอํานวยความสะดวก ได้แก่ ข้อ 3.1-3.2
ประเด็นที่4 ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ  ได้แก่ ข้อ 4.1-4.2
แบ่งเป็น  5  ระดับ คือ มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุด โดยทุกข้อเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นบวก (Positive) ตามลําดับ โดยที่
มากที่สุด    =   5 คะแนน
มาก       =   4 คะแนน
ปานกลาง    = 3 คะแนน
น้อย    =   2 คะแนน
น้อยที่สุด    = 1 คะแนน
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
1. ศึกษาเอกสารบทความ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเพื่อให้ได้ตัวแปรที่จะศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
2. นําข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาสร้างแบบสอบถาม
3. นําแบบสอบถามฉบับร่างเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบและเสนอแนะเพื่อทําการปรับปรุงแกไข้
4.  ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อแนะนํา และผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้สมบูรณ์ก่อนการนําไปทดสอบความเชื่อมั่น
การวิเคราะห์ข้อมูล
                นำแบบสอบถามาแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้และทำการวิเคราะห์ค่าสถิตต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1  ในการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ค่าความถี่ (frequencies) และค่าร้อยละ (percentage) แล้วนําเสนอในรูปตาราง
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency)  และหาค่าร้อยละ(Percentage)  แล้วนาเสนอในรูปตาราง วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย(Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยกำหนดค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความพึงพอใจในงานเป็น 5 ระดับโดยคํานวณแล้วนํามาจัดช่วงคะแนนดังนี้

ช่วงระดับคะแนน               =                 คะแนนสูงสุด-คะแนนต่ำสุด
                                                                                                                       จำนวนระดับ
ระดับความคิดเห็นตามขนาดของช่วงระดับคะแนน  เป็นดังนี้
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.21 -5.00  หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.41 -4.20 หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับมาก
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.61 -3.40 หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.81 -2.60  หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.00 -1.80 หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับน้อยที่สุด
ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ  แตกต่างกัน จะมีระดับความพึงพอใจต่อการบริการใช้บริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมที่แตกต่างกัน  โดยกำหนดช่วงความเชื่อมันอยู่ที่ร้อยละ 95 และในกรณีที่ผลการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการเปรียบเทียบระดับความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้สถิติ Least-Significant Different (LSD)