วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3


บทที่  3
วิธีการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
                      แนวทางในการศึกษา และการรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม จะอธิบายถึงการกำหนดจำนวนนักเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การวิเคราะห์ ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้
                                        1.  วิธีการศึกษา
                                        2.  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                                        3.  การวิเคราะห์ข้อมูล
                        4.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการศึกษา
                      การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสํารวจ เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคมโดยศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ซึ่งมีรายละเอียดการศึกษาดังต่อไปนี้
                      จำนวนนักเรียนตัวอย่างศึกษาจากนักเรียนมัถยมศึกษาตอนต้น ชาย 7 คน หญิง 8 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ชาย 8 คน หญิง 7 คน ของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                      การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ดังนั้น จึงใช้แบบสอบถามตามแบบ ลิเคอร์ทสเกล(Likert Scale) ซึ่งแบบสอบถามแบงเป็น  2 ส่วนดังนี้
                      ส่วนที่1 แบบสอบถามในเรื่องเกี่ยวกบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยคําถามเกี่ยวกับ
1. เพศ
2. อาย
                                        ส่วนที่ 2  แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคมรวมทั้งสิ้น 9 ข้อ โดยใช้มาตรวัดแบบ  Likert’s Scale แบ่งข้อทดสอบย่อยออกเป็น  4 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่1 ความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ได้แก่ ข้อ 1.1-1.2
ประเด็นที่2 ความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมจำนวน 100 คน ได้แก่ ข้อ 2.1-2.3
ประเด็นที่3 ความพึงพอใจด้านการอํานวยความสะดวก ได้แก่ ข้อ 3.1-3.2
ประเด็นที่4 ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ  ได้แก่ ข้อ 4.1-4.2
แบ่งเป็น  5  ระดับ คือ มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุด โดยทุกข้อเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นบวก (Positive) ตามลําดับ โดยที่
มากที่สุด    =   5 คะแนน
มาก       =   4 คะแนน
ปานกลาง    = 3 คะแนน
น้อย    =   2 คะแนน
น้อยที่สุด    = 1 คะแนน
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
1. ศึกษาเอกสารบทความ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเพื่อให้ได้ตัวแปรที่จะศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
2. นําข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาสร้างแบบสอบถาม
3. นําแบบสอบถามฉบับร่างเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบและเสนอแนะเพื่อทําการปรับปรุงแกไข้
4.  ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อแนะนํา และผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้สมบูรณ์ก่อนการนําไปทดสอบความเชื่อมั่น
การวิเคราะห์ข้อมูล
                นำแบบสอบถามาแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้และทำการวิเคราะห์ค่าสถิตต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1  ในการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ค่าความถี่ (frequencies) และค่าร้อยละ (percentage) แล้วนําเสนอในรูปตาราง
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency)  และหาค่าร้อยละ(Percentage)  แล้วนาเสนอในรูปตาราง วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย(Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยกำหนดค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความพึงพอใจในงานเป็น 5 ระดับโดยคํานวณแล้วนํามาจัดช่วงคะแนนดังนี้

ช่วงระดับคะแนน               =                 คะแนนสูงสุด-คะแนนต่ำสุด
                                                                                                                       จำนวนระดับ
ระดับความคิดเห็นตามขนาดของช่วงระดับคะแนน  เป็นดังนี้
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.21 -5.00  หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.41 -4.20 หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับมาก
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.61 -3.40 หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.81 -2.60  หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.00 -1.80 หมายถึง มีความพึงพอใจอยูในระดับน้อยที่สุด
ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริการห้องน้ำโรงเรียนพะเยาพิทยาคม มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ  แตกต่างกัน จะมีระดับความพึงพอใจต่อการบริการใช้บริการห้องน้ำของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมที่แตกต่างกัน  โดยกำหนดช่วงความเชื่อมันอยู่ที่ร้อยละ 95 และในกรณีที่ผลการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการเปรียบเทียบระดับความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้สถิติ Least-Significant Different (LSD)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น